วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ควมซื้อสัตว์

ความสำคัญของความซื่อสัตย์ สุจริต และ ยุติธรรม
                ความซื่อสัตย์ จริงใจต่อกันของบุคคลย่อมเป็นเหตุให้ เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน ในการพัฒนา ตนให้มีวินัย มีความงามทางกาย วาจานั้น มีข้อห้ามไว้ในเบญจศีลว่าจะต้องไม่กล่าวคำที่เป็นเท็จ หลอกลวง ไม่จริง และในเบญจธรรมมีข้อที่ควรปฏิบัติคือ ต้องมีสัจจะ เป็นการย้ำว่าไม่ให้โกหก ให้จริงใจต่อกัน บุคคลที่มีความจริงใจย่อมได้รับความเชื่อถือไว้วางใจจากผู้อื่น จะคิดจะทำอะไร ย่อมมีผู้ช่วยเหลือค้ำจุน ต่างจากคนหลอกลวงที่ไม่มีใครอยากคบหาเสวนา หากดูคำสอนเกี่ยวกับการเลือกคบคน พระพุทธองค์ทรงสอนว่า บุคคลที่ไม่ควรคบหาสมาคมด้วยก็คือ คนประจบ ดีแต่พูด หาความจริงใจไม่ได้ การซื่อสัตย์จริงใจที่แสดงออกทางวาจา ทำให้บุคคลมีความสุจริตทางวาจา 4 ข้อในกุศลกรรมบถ 10
                ส่วน ความซื่อสัตย์ที่แสดงออกทางกายได้แก่การไม่ลักขโมยในเบญจศีล และ มีสัมมาอาชีวะ ในเบญจธรรม การลักขโมยมีความหมายกว้างถึงของทุกอย่างไม่ว่าอยู่ในที่ลับหรือที่แจ้งหาก ไม่ใช่ของของตนแม้จะได้รับโอกาสดูแลรักษาก็ต้องดูแลเพื่อให้เจ้าของเขา เป็นผู้รับประโยชน์ ไม่ใช่แสวงหาประโยชน์จากสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ดูแล ตัวอย่างเช่น นักการเมือง หรือ ข้าราชการได้รับมอบหมายจากประชาชนให้ดูแลเศรษฐกิจของบ้านเมือง ดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองแต่ไม่ได้ทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย โดยหาประโยชน์เพื่อตนจากหน้าที่ ที่ได้รับ เรียกว่าคอรัปชั่น โกงบ้านโกงเมือง โกงเวลาราชการ ทำให้ถูกตราหน้าว่าเป็นคนไม่ซื่อสัตย์ ในระดับครอบครัวผู้ที่ไม่ปฏิบัติเบญจศีล ทั้งในข้อมุสาและในข้อ กาเม คือ ไม่มีสัจจะ และ กามสังวรในเบญจธรรม ย่อมทำให้สามีภรรยาไม่มีความไว้วางใจกัน แสดงว่าไม่มีความซื่อสัตย์ ความสงบสุขในครอบครัวก็เกิดขึ้นไม่ได้ ปัญหาครอบครัวแตกแยกก็มีมูลเหตุมาจากความไม่ซื่อสัตย์ จริงใจ
                ผู้ ที่มีความซื่อสัตย์ทางกาย ย่อมไม่ก่อเวรภัยแก่ผู้ใด ไม่ทำร้าย คิดพยาบาท อาฆาต ทำลายใครทั้งโดยทางกาย วาจาและใจ เป็นผู้ปฏิบัติกุศลกรรมบถ ครบทั้ง 10 ประการ ความเป็นผู้มีความยุติธรรมก็บังเกิดแก่บุคคลผู้นั้นด้วย ความซื่อสัตย์ สุจริต และยุติธรรม จึงมีความสำคัญในอันที่จะส่งผลต่อเนื่องกัน กับการพัฒนาศีลหรือระเบียบวินัย

รำวงมาตรฐาน

ประวัติความเป็นมาของรำวงมาตรฐาน

ที่มาของรำวงมาตรฐาน                          

          รำวง (Ramwong) เป็นการละเล่นของชาวบ้านที่ร่วมเล่นกันเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคี แต่เดิมเรียกว่า “รำโทน” เนื่อง จากใช้โทนตีประกอบจังหวะในการรำ ต่อมาเพิ่มกรับและ ฉิ่ง แต่ยังไม่มีการขับร้องประกอบในการรำ คงรำไปตามจังหวะโทนอย่างเดียว ลักษณะการรำโทนรำเป็นคู่ ๆ เดินเป็นวงกลม ใช้ท่ารำง่าย ๆ สุดแท้แต่ใครจะรำหรือทำท่าใด ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ ขอเพียงแต่ย่ำเท้าให้ลงตามจังหวะโทน

          ต่อมาการเล่น “รำโทน” ได้พัฒนามาเป็น “รำวง” ลักษณะ การรำวง คือ มีโต๊ะตั้งกลางวง ชาย – หญิงรำเป็นคู่ ๆ เดินเป็นวงกลมอย่างมีระเบียบ แต่ยังคงยึดจังหวะโทนเป็นหลัก มีการ ขับร้องเพลงประกอบในการรำ เรียกว่า “รำวงพื้นบ้าน” การ รำวงนี้นิยมเล่นในงานเทศกาล หรือเล่นกันเองด้วยความสนุกสนาน เนื้อหาสาระของเพลงรำวงพื้นเมือง นอกจากให้ความบันเทิงแล้วยังสอดแทรกอารมณ์ ความรู้ ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เพลงช่อมาลี เธอรำช่างน่าดู หล่อจริงนะดารา ตามองตา ยวนยาเหล ใกล้เข้าไปอีกนิด ฯลฯ

          ต่อมาในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2487 ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ปรับปรุงการเล่นรำวงพื้นบ้าน ให้มีระเบียบเรียบร้อย เป็นแบบฉบับอันดีงามของนาฏศิลป์ไทยและเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการละเล่น พื้นเมือง กรมศิลปากรจึงแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่ 4 เพลง คือ งามแสงเดือน ชาวไทย คืนเดือนหงาย และรำมาซิมารำ พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการเล่นรำวงมาเป็นวงปี่ พาทย์หรือวงดนตรีสากล

          บทเพลงรำวงมาตรฐานนี้ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งบทร้องอีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดอกไม้ของชาติ หญิงไทยใจงาม ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ยอดชายใจหาญ และ บูชานักรบ

          ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงรำวงทั้ง 10 เพลงนั้น คือ คณะอาจารย์ด้านนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ได้ช่วยกันคิดประดิษฐ์ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ กำหนดให้เป็นแบบมาตรฐาน ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำของรำวงมาตรฐาน คือ หม่อมต่วน (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) ครูมัลลี คงประภัทร์ ครูลมุล ยมะคุปต์ และครูผัน โมรากุล ต่อมาได้มีการนำรำวงนี้ไปสลับกับวงลีลาศ ทำให้ชาวต่างประเทศรู้จักรำวง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เล่นกันแพร่หลาย และมีแบบแผนอันเดียวกัน กรมศิลปากรจึงเรียกว่า “รำวงมาตรฐาน”